วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การบริหารเชิงปริมาณ

การบริหารเชิงปริมาณ (Management Science)
                วิทยาการจัดการ(Management Science) เป็นทัศนะการตัดสินใจภายในองค์การ ซึ่งประยุกต์ใช้หลักเหตุผล เพื่อช่วยผู้บริหารในการจัดสินใจ(Daft.2001 : 608) เป็นวิธีการบริหารจัดการเชิงปริมาณซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ โดยผ่านแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และวิธีการทางสถิติที่เรียกว่า การวิจัยการปฏิบัติการ (Operations research) ซึ่งเป็นแนวทางการบริหารจัดการเชิงปริมาณที่ประยุกต์ใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ในสถานการณ์การตัดสินใจต่างๆ ศาสตร์นี้ผู้ตัดสินใจจะมีหลักเกณฑ์เชิงปริมาณในการเลือกระหว่างทางเลือกต่างๆ โดยเฉพาะใช้ในเวลาการวางแผน ที่มีความหมายที่แตกต่างจากการบริหารจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific management) หมายถึง ทฤษฎีการบริหารจัดการแบบคลาสสิค (Classical management theory) ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิธีการทำงานตามหลักวิทยศาสตร์(หลักเหตุผล) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน โดยหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน วิทยาการจัดการประยุกต์ใช้โมเดลคณิตศาสตร์และสถิติในสถานการณ์จัดการต่างๆ ในขณะที่การจัดการตามหลักวิทยาศาตร์มุ่งที่การใช้หลักวิทยศาสตร์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน
แนวคิดเชิงปริมาณเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
                เทคนิคเชิงปริมาณจะช่วยให้ผู้บริหารในการตัดสินใจเป็นทางเลือกภายใต้สถานการณ์ของความเสี่ยงและควมไม่แน่นอน ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารขององค์กรนั้นเกี่ยวข้องกับ 6 ขั้นตอน ดังนี้
1.       กำหนดปัญหา = = = = >     กำหนดปัญหาที่ธุรกิจกำลังประสบอยู่ทั่วไป เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะทำให้การประยุกต์การวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในขั้นตอนนี้ผู้บริหารจะต้องรวบรวม ข่าวสารข้อมูลและวิเคราะห์ถึงปัญหาที่แท้จริงที่ตนเองเผชิญอยู่
2.       วิเคราะห์ = = = = >  พิจารณาสิ่งที่จะนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือเชิงปริมาณนั้น เป็นปัญหาใด สามารถใช้เครื่องมือเชิงปริมาณเข้ามาแก้ไขได้หรือไม่ คุ้มค่า? เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะมีความซับซ้อน ยากง่ายแตกต่างกัน
3.       พัฒนาทางเลือก (การสร้างแบบจำลอง) = = = = > เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเชิงปริมาณ เนื่องจากเป็นที่มาของผลลัพธ์ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งโมเดลที่นิยมใช้มี 3 รูปแบบ
3.1   โมเดลแบบ Iconic ----- ตัวแบบจำลองสิ่งต่างๆ ให้เหมือนตัวจริงิแต่ย่อขนาดให้เล็กลง เช่น แบบจำลองบ้าน แบบจำลองรถยนต์
3.2   โมเดลแบบ Analog -------ตัวแบบที่นำสิ่งอื่นมาใช้เป็นตัวแทน เช่น การเขียนพิมพ์เขียวแทนสิ่งของก่อนสร้างจริง การแสดงกราฟแทนยอดขาย
3.3   โมเดลคณิตศาสตร์ ------ ตัวแบบที่ใช้ตัววเลข ตัวแปร สัยลักษณ์ทาวคณิตศาสตร์มาเขียนในรูปสูตรต่าง สมการ หรืออสมการ
4.       คัดเลือกทางเลือก (การวิเคราะห์แบบจำลอง) = = = = > การหาผลลัพธ์จากแบบจำลองที่กำหนดขึ้นนั้น เพื่อหาคำตอบที่เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
5.       ปฏิบัติทางเลือกนั้นให้ประสบผลสำเร็จ = = = = > ผู้บริหารอาจใช้คำตอบจากตัวแบบเป็นแนวทางในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหาเท่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพการในระหว่างตัดสินใจแตกต่างไปจากสภาพการณ์ที่กำหนดเป็นสมมติฐานของการสร้างตัวแบบ
6.       ประเมินผลการปฏิบัติงานและผลสะท้อนจากการปฏิบัติงาน เพื่อตรวจสอบดูว่าได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ ถ้านำไปใช้แล้วได้ผลลัพธ์ไม่ดีอาจต้องมีการเปลี่ยนทางเลือกใหม่

แนวคิดของวิทยาการจัดการ (Management science) หรือการวิจัยการปฏิบัติการ (Operations research) เป็นแนวคิดเดียวกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative analysis) ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากการประยุกต์ใช้เทคนิคของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific method) และการหาแนวทางที่ดีที่สุด (The one beast way) เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนขององค์การ โดยวิธีการหาข้อมูลที่เป็นตัวเลขออกมาใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งนักวิชาการได้สร้างเทคนิคหรือเครื่องมือเชิงปริมาณขึ้นมาหลายประการ ทั้งในรูปแบบที่เป็นสูตร สมการ แบบจำลอง และวิธีการต่างๆ จนในปัจจุบันสามารถพัฒนาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการคำนวณข้อมูลที่มีจำนวนมากได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมวางแผนการจัดการและการทำการตัดสินใจที่หลากหลายวิทยาการจัดการจะนำไปสู่คำตอบที่ดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น